บริการ Audit รายปี

รายละเอียดรายการที่ตรวจสอบ

  บิลขายเป็น 0 บาท
     สมมุติ เมื่อดูจากโปรแกรม ยอดเงินที่ต้องส่งประจำวัน เป็น 10,000 บาท มีสินค้าเหลืออยู่ในโปรแกรม 3 ชิ้นแต่ ของจริง ยอดเงินที่มีอยู่จริงมีแค่ 9,000 บาท (เงินอาจจะหายไป 1,000 หรือมีใครขโมยไป) และมีสินค้าเหลืออยู่จริง ๆ แค่ 2 ชิ้น (ของอาจจะหายหรือมีใครขโมยไป) พนักงานก็เลยขายสินค้าซึ่งควรจะขายราคา 1,000 บาท เป็นขายราคา 0 บาทเพื่อให้ยอดเงินตรงกับโปรแกรมและพนักงานก็ขายสินค้าที่หายไป 1 ชิ้นแต่มีอยู่ในโปรแกรมออกไปโดยให้ราคาขายเป็น 0 บาทเพื่อให้ยอดสินค้าตรงกับโปรแกรม

  บิลขายยกเลิกข้ามวัน
     สมมุติ ยอดสินค้าในคลังสินค้าจริง ๆ มีอยู่ 10 ชิ้น แต่ในยอดโปรแกรมมีอยู่ 15 ชิ้น (สินค้าอาจจะหายไปหรือถูกขโมยไป) พนักงานหน้าร้านรู้ว่าสินค้าหายไป 5 ชิ้น และกลัวว่าเวลา Audit (ฝ่ายตรวจสอบ) มาตรวจจะพบว่าสินค้าหายไป 5 ชิ้น ก็เลยทำขายสินค้า 5 ชิ้นนี้ออกไปในราคาปกติ แต่ยังไม่ได้รับเงินจากลูกค้า (ค้างชำระ) ส่งผลให้เวลา Audit (ฝ่ายตรวจสอบ) มานับ Stock ก็จะเห็นว่า ครบ เพราะว่าสินค้าได้ถูกขายออกไป 5 ชิ้นแล้วทำให้ในโปรแกรมจะเห็นสินค้าเหลืออยู่ 10 ชิ้นเท่ากับของจริง ทั้ง ๆ ที่ 5 ชิ้นที่ทำขายนั้นไม่ได้ขายไปจริง ๆ หลังจาก Audit (ฝ่ายตรวจสอบ) กลับไปหรืออีกหลายวันต่อมาก็ค่อยมายกเลิก (Cancel)บิลขายใบนี้ แล้วค่อยเปิดบิลขายใบใหม่ต่อใหม่เพื่อให้ดูแนบเนียน

  บิลขายที่ Edit
     สมมุติสินค้าตั้งราคาขายไว้ = 200 บาท แต่ราคาที่ยอดให้ขายต่ำสุด (Min Price) = 100 บาท ลูกค้ามาซื้อสินค้า 3 ชิ้น ในราคาชิ้นละ 200 บาท จะได้ยอดขาย 200 x 3 = 600 บาท พนักงานก็เก็บเงินมา 600 บาท หลังจากนั้นพอลูกค้ากลับไปแล้วพนักงานก็ Edit (แก้ไข) บิลนี้โดยเปลี่ยนราคาเป็นชิ้นละ 100 บาทจะได้ยอดขายใหม่ (ที่โกง) = 100 x 3 = 300 บาท แล้วก็เอาเงิน 300 เก็บเข้ากระเป๋า (ยอดส่งเงินประจำวันในโปรแกรมและยอด Stock จะตรง) หรือ แบบที่ 2 ก็คือ อาจจะ Edit (แก้ไข) บิลนี้โดยเปลี่ยนราคาเป็นชิ้นละ 100 บาท และเพิ่มสินค้าเข้าไปอีก 1 ชิ้น จะได้ยอดขาย 100 x 4 = 400 บาท แล้วก็เอาเงิน 200 เก็บเข้ากระเป๋าพร้อมกับเอาสินค้าอีก 1 ตัวที่ขายหลอก กลับบ้านไป (ยอดส่งเงินประจำวันในโปรแกรมและยอด Stock จะตรง)

  บิลขายลดหนี้
     สมมุติ ขายสินค้าไป 3 ชิ้นในราคาชิ้นละ 200 บาท = 200 x 3 = 600 บาท พอผ่านไป 5 วัน (หรือจะกี่วันก็ได้) ก็ลดหนี้ให้ลูกค้าตัวละ 50 บาท (ยอดเงินที่ลดหนี้สามารถทำเป็นรับเงินสด หรือ เอาไปหักหนี้กับบิลขายใบใหม่ก็ได้) ซึ่งจะส่งผลให้ยอดเงินประจำวันที่ต้องส่งตามโปรแกรมลดลง ทำให้สามารถใช้วิธีทุจริตได้ หรือ อีกแบบอาจจะทำรับคืนสินค้าจากลูกค้ามา 1 ชิ้น แต่ว่าทำลดหนี้เป็นจำนวนเงิน 150 บาท ก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้จะสังเกตุเห็นว่า สินค้าขายไปชิ้นละ 100 บาท แต่พอลูกค้าเอาสินค้ามาคืน 1 ชิ้นควรจะลดหนี้ (คืนเงินให้ลูกค้า ไม่ควรมากกว่าราคาที่ขายไป คือ 100 บาท) แต่ในกรณีทำคืนไปถึง 150 บาทซึ่งอาจจะเป็นการทุจริตได้

  บิลขายเปิดใหม่ถูกลง
     สมมุติ สินค้าตั้งราคาขายไว้ = 200 บาท แต่ราคาที่ยอมให้ขายต่ำสุด (Min Price) = 100 บาท ลูกค้ามาซื้อสินค้า 3 ชิ้น ในราคาชิ้นละ 200 บาท จะได้ยอดขาย 200 x 3 = 600 บาท พนักงานก็เก็บเงินมา 600 บาท คราวนี้พนักงานจะไม่ใช้วิธี Edit (แก้ไข) บิลเพราะตรวจสอบได้ง่ายเกินไป ก็เลยใช้วิธี ยกเลิก (Cancel) บิลนั้นแทน และเปิดบิลขายใบใหม่แยกออกมาเป็นอีก 3 บิลเลย โดยอาจจะเปิดบิลแรก 1 ชิ้นในราคา 100 บาท, บิลที่สอง 1 ชิ้นราคา 150 บาท และ บิลที่สาม 1 ชิ้นราคา 150 บาท ก็ได้ จากนั้นก็เก็บเงินเข้ากระเป๋า 200 บาท (ยอดส่งเงินประจำวันในโปรแกรมและยอด Stock จะตรง)

  เวลาที่เปิดบิลไม่เรียงลำดับ
     สมมุติ วันนี้เป็นวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 มีพนักงานที่คิดจะทุจริตเป็นแฟนกันหรือสมรู้ร่วมคิดกันกับพนักงานที่ดูแลเครื่อง Server (ถ้ามีเครื่อง Server อยู่เพียงที่เดียว, หรือถ้ามีเครื่อง Replicate หลายเครื่อง)

  โอนสินค้าออกแต่ยังไม่ได้รับ
     สมมุติ มีสินค้าจริง ๆ อยู่ใน Stock = 100 ชิ้น แต่พนักงานอยากจะได้กลับไปใช้ที่บ้านหรือเอาไปขายเองโดยไม่ผ่านบริษัท (ทุจริต) 10 ชิ้น ก็เลยทำการโอนสินค้าออกไป สาขาอื่น 10 ชิ้น ทำให้ยอดใน Stock ของในโปรแกรมและยอดของจริงตรงกัน เวลา Audit (ฝ่ายตรวจสอบมาตรวจสอบก็จะไม่รู้) วิธีตรวจสอบคือให้ค้นหาใบโอนสินค้าออก (Stock Out) ที่ยังไม่ได้รับเมื่อเวลาผ่านไปเกินวันที่กำหนด (เช่น ค้นหา ใบโอนสินค้าออก (Stock Out) ที่ยังไม่ได้รับเมื่อเวลาผ่านไปเกิน 7 วันเป็นต้น : โดยสมมุติว่าสาขาของบริษัทอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งหมด เวลาโอนสินค้าจากคลังสินค้าหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไม่มีทางที่จะนานเกินกว่า 2 วันได้ เพราะว่ารถส่งของวิ่งระหว่าง สาขาใช้เวลาไม่ถึง 1 วัน) ดังนั้นถ้าเจอใบโอนสินค้าออกที่ยังไม่ได้รับนานเกินกว่า 7 วัน ก็อาจจะหมายถึงของหาย หรือ เกิดการทุจริตขึ้นได้

  บิลรับสินค้าซ่อมจากลูกค้า
     สมมุติว่า มีลูกค้ามาส่งสินค้า A ซ่อมไว้กับทางบริษัท พนักงานอาจจะคิดทุจริตได้โดยการนำเอาสินค้า B ซึ่งแพงกว่าสินค้า A มาก ไปทำส่งคืนส่งคืนให้ลูกค้าและบอกว่าสินค้า A หรืออีกกรณีหนึ่งอาจนำเอาสินค้า B ซึ่งแพงกว่าสินค้า A มากพร้อมกับสินค้า A ส่งคืนลูกค้าไปพร้อมกันทีเดียว ก็จะไม่ได้ชดใช้ค่าเสียหายอะไรให้กับบริษัทเพราะยอด Stock จะตรง และเอาสินค้า B กลับบ้านไปใช้หรือนำไปขาย ซึ่งถ้าไม่มีใครมาตรวจสอบบิลรับสินค้าซ่อมจากลูกค้านี้ก็จะไม่ทราบว่าถูกทุจริต

  บิลส่งสินค้าเสียไปซ่อมที่ผู้ขาย (Supplier, Dealer)
     คล้าย ๆ กับบิลรับสินค้าซ่อมจากลูกค้า แต่ว่ากลับทางกัน

  บิลส่งสินค้าเสียไปซ่อมที่ผู้ขายและยังไม่ได้รับกลับมา(Supplier, Dealer)
     ข้อนี้คล้าย ๆ กับการเปิดบิลขายแต่ยังไม่ได้รับเงิน แต่จะต่างกันตรงที่ว่าไม่ได้เปิดบิลขาย เพราะบิลขายจะตรวจสอบได้ง่ายกว่า ดังนั้นถ้าอยากจะขโมยของก็เลยใช้วิธีเปิดใบส่งสินค้าเสียไปซ่อมที่ผู้ขาย (Supplier, Dealer) เสียเลย จากนั้นก็เอาเอง กลับบ้านหรือเอาไปขายเอง เพื่อที่ Stock ในโปรแกรมจะได้ตรง วิธีตรวจสอบก็คือ ให้ดูว่า ใบส่งสินค้าเสียไปซ่อมที่ผู้ขาย (Supplier, Dealer) และยังไม่ได้รับกลับมา นั้นได้เปิดบิลไปเป็นเวลานานกว่ากำหนดหรือยัง เช่น ส่งซ่อมไปนานเกินกว่า 90 วันแล้ว ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ที่จะไม่ได้รับสินค้าที่ซ่อมเสร็จ กลับมาสักที ซึ่งถ้ามีก็อาจจะเป็นการทุจริตได้

  บิลสินค้าที่ซื้อแพงขึ้น
     ข้อนี้เอาไว้ตรวจสอบฝ่ายจัดซื้อ (ถ้าเจ้าของเป็นฝ่ายจัดซื้อเองไม่มีปัญหาตรงนี้ ก็สามารถข้ามข้อนี้ไปได้เลย) ข้อนี้เอาไว้ดูสินค้าที่จัดซื้อแพงขึ้น ซึ่งไม่แน่ว่าฝ่ายจัดซื้ออาจจะทุจริต (มีนอกมีในกับผู้ขาย) ได้ เช่นเวลาห่างกันแค่ 2 วัน ทำไมสินค้าตัวเดียวกันถึงได้ซื้อแพงขึ้นตั้้งหลายร้อยบาทนะ (อะไรประมาณนั้น)

หมายเหตุ** เงื่อนไขการคิดค่าบริการรายปี
ค่าบริการ Audit File Excel รายเดือน / ปี

  • 1 – 49 สาขา คิดค่าบริการ ราคา 350 บาท ต่อสาขา/ต่อเดือน
  • มากกว่า 50 สาขา คิดค่าบริการ ราคา 250 บาท ต่อสาขา/ต่อเดือน